วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย




     การวิจัยครั้งนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมัวยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสาน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการสาน       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นเด็กนักเรียนชาย -หญิง จำนวน30คน อายุ4-5ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่1ภาคเรียนที่1ปีการศึกษา2553โรงเรียนวัดนิมารนรดี เขตภาษีเจริญ  กรุงเทพมหานคร  สังกัดกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการเลือกที่เจอะจง  ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเอง  โดยทำการวิจัยเป็นระยะ8สัปดาห์ สัปดาห์ละ4วัน วันละ50นาทีรวมทั้งหมด32ครั้ง        
     เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  คือแบบทดสอบพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ.92การจัดกิจกรรมการสานซึ่งใช้วัสดุต่างๆ จำนวน32 กิจกรรม  และแบบทดสอบโดยผู้วิจัยแบบแผนการวิจัย  เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One - GroupPretest-PosttesdDesign และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ t-test for Dependent Samples
     ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสานเพื่อการเรียนรู้อันเป็นแนวทางให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์ใยการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กต่อไป



สรุปผลการวิจัย
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมสาน สูงกว่า ก่อนการจัดกิจกรรมการสานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลอง ทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมการสาน เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งรายรวมและรายด้าน อยู่ในระดับดี       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น